วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การติดตั้งระบบเครือข่ายแบบไร้สาย

ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LANs) เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1971 บนเกาะฮาวาย โดยโปรเจกต์ ของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาย ที่ชื่อว่า “ALOHNET” ขณะนั้นลักษณะการส่งข้อมูลเป็นแบบ Bi-directional ส่งไป-กลับง่ายๆ ผ่านคลื่นวิทยุ สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ 7 เครื่อง ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะ 4 เกาะโดยรอบ และมีศูนย์กลางการเชื่อมต่ออยู่ที่เกาะๆหนึ่ง ที่ชื่อว่า Oahu
ระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN = Wireless Local Area Network) คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความคล่องตัวมาก ซึ่งอาจจะนำมาใช้ทดแทนหรือเพิ่มต่อกับระบบเครือข่ายแลนใช้สายแบบดั้งเดิม โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ, ทะลุกำแพง, เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สาย
ที่สำคัญก็คือ การที่มันไม่ต้องใช้สายทำให้การเคลื่อนย้ายการใช้งานทำได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สาย ที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันนี้ โลกของเราเป็นยุคแห่งการติดต่อสื่อสาร เทคโนโลยีต่างๆ เช่นโทรศัพท์มือถือ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวัน ความต้องการข้อมูลและการบริการต่างๆ มีความจำเป็นสำหรับนักธุรกิจ เทคโนโลยีที่สนองต่อความต้องการเหล่านั้น มีมากมาย เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุค เครื่องปาร์ม ได้ถูกนำมาใช้เป็นอย่างมากและ ผู้ที่น่าจะได้ประโยชน์จากการใช้ ระบบเครือข่ายไร้สาย มีมากมายไม่ว่าจะเป็น
- หมอหรือพยาบาลในโรงพยาบาล เพราะสามารถดึงข้อมูลมารักษาผู้ป่วยได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุค ที่เชื่อมต่อกับ ระบบเครือข่ายไร้สายได้ทันที
- นักศึกษาในมหาวิทยาลัยก็สามารถใช้งานโน็ตบุคเพื่อค้นคว้าข้อมูลในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย หรือใช้อินเตอร์เน็ท จากสนามหญ้าในมหาลัยได้
- นักธุรกิจที่มีความจำเป็นต้องใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ที่ทำงานปกติ ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนองานยังบริษัทลูกค้า หรือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ติดตัวไปงานประชุมสัมมนาต่างๆ บุคคลเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรซึ่งอยู่ห่างออกไปหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะ เช่นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายจึงน่าจะอำนวยความสะดวกให้กับบุคคลเหล่านี้ได้ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเปิดให้บริการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย ตามสนามบินใหญ่ทั่วโลก และนำมาใช้งานแพร่หลายในห้างสรรพสินค้า และโรงแรมต่างๆแล้ว
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายไร้สาย
1. mobility improves productivity & service มีความคล่องตัวสูง ดังนั้นไม่ว่าเราจะเคลื่อนที่ไปที่ไหน หรือเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปตำแหน่งใด ก็ยังมีการเชื่อมต่อ กับเครือข่ายตลอดเวลา ตราบใดที่ยังอยู่ในระยะการส่งข้อมูล
2. installation speed and simplicity สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งสายเคเบิล และไม่รกรุงรัง
3. installation flexibility สามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย เพราะเพียงแค่มี พีซีการ์ดมาต่อเข้ากับโน๊ตบุ๊ค หรือพีซี ก็เข้าสู่เครือข่ายได้ทันที
4. reduced cost- of-ownership ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม ที่ผู้ลงทุนต้องลงทุน ซึ่งมีราคาสูง เพราะในระยะยาวแล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายไม่จำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา และการขยายเครือข่ายก็ลงทุนน้อยกว่าเดิมหลายเท่า เนื่องด้วยความง่ายในการติดตั้ง
5. scalability เครือข่ายไร้สายทำให้องค์กรสามารถปรับขนาดและความเหมาะสมได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพราะสามารถโยกย้ายตำแหน่งการใช้งาน โดยเฉพาะระบบที่มีการเชื่อมระหว่างจุดต่อจุด เช่น ระหว่างตึก
ระบบเครือข่ายไร้สาย เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ไม่มากนัก และมักจำกัดอยู่ในอาคารหลังเดียวหรืออาคารในละแวกเดียวกัน การใช้งานที่น่าสนใจที่สุดของเครือข่ายไร้สายก็คือ ความสะดวกสบายที่ไม่ต้องติดอยู่กับที่ ผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้โดยที่ยังสื่อสารอยู่ในระบบเครือข่าย
รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายไร้สาย
2.1 Peer-to-peer ( ad hoc mode )










รูปแบบการเชื่อมต่อระบบแลนไร้สายแบบ Peer to Peer เป็นลักษณะ การเชื่อมต่อแบบโครงข่ายโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 เครื่องหรือมากกว่านั้น เป็นการใช้งานร่วมกันของ wireless adapter cards โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบใช้สายเลย โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีความเท่าเทียมกัน สามารถทำงานของตนเองได้และขอใช้บริการเครื่องอื่นได้ เหมาะสำหรับการนำมาใช้งานเพื่อจุดประสงค์ในด้านความรวดเร็วหรือติดตั้งได้โดยง่ายเมื่อไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับ ยกตัวอย่างเช่น ในศูนย์ประชุม, หรือการประชุมที่จัดขึ้นนอกสถานที่



2.2 Client/server (Infrastructure mode)













ระบบเครือข่ายไร้สายแบบ Client / server หรือ Infrastructure mode เป็นลักษณะการรับส่งข้อมูลโดยอาศัย Access Point (AP) หรือเรียกว่า “Hot spot” ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายแบบใช้สายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (client) โดยจะกระจายสัญญาณคลื่นวิทยุเพื่อ รับ-ส่งข้อมูลเป็นรัศมีโดยรอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรัศมีของ AP จะกลายเป็น เครือข่ายกลุ่มเดียวกันทันที โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ จะสามารถติดต่อกัน หรือติดต่อกับ Server เพื่อแลกเปลี่ยนและค้นหาข้อมูลได้ โดยต้องติดต่อผ่านAP เท่านั้น ซึ่ง AP 1 จุด สามารถให้บริการเครื่องลูกข่ายได้ถึง 15-50 อุปกรณ์ ของเครื่องลูกข่าย เหมาะสำหรับการนำไปขยายเครือข่ายหรือใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายแบบใช้สายเดิมในออฟฟิต, ห้องสมุด หรือในห้องประชุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น



2.3 Multiple access points and roaming












โดยทั่วไปแล้ว การเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับ Access Point ของเครือข่ายไร้สายจะอยู่ในรัศมีประมาณ 500 ฟุต ภายในอาคาร และ 1000 ฟุต ภายนอกอาคาร หากสถานที่ที่ติดตั้งมีขนาดกว้าง มากๆ เช่นคลังสินค้า บริเวณภายในมหาวิทยาลัย สนามบิน จะต้องมีการเพิ่มจุดการติดตั้ง AP ให้มากขึ้น เพื่อให้การรับส่งสัญญาณในบริเวณของเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นไปอย่างครอบคลุมทั่วถึง



2.4 Use of an Extension Point














กรณีที่โครงสร้างของสถานที่ติดตั้งเครือข่ายแบบไร้สายมีปัญหาผู้ออกแบบระบบอาจจะใช้ Extension Points ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับ Access Point แต่ไม่ต้องผูกติดไว้กับเครือข่ายไร้สาย เป็นส่วนที่ใช้เพิ่มเติมในการรับส่งสัญญาณ



2.5 The Use of Directional Antennas





ระบบแลนไร้สายแบบนี้เป็นแบบใช้เสาอากาศในการรับส่งสัญญาณระหว่างอาคารที่อยู่ห่างกัน โดยการติดตั้งเสาอากาศที่แต่ละอาคาร เพื่อส่งและรับสัญญาณระหว่างกัน

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วิธีทำ แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย

Your Vote Rating 9.1 from 47 users
จำนวนผู้เข้าชม 82127 ครั้ง
See All Comments







Dino-Lite กล้องจุลทรรศน์พกพา รางวัลยอดเยี่ยมโลก



แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย



ลูกชิ้นปลากราย

เนื้อปลากรายขูด 4 ถ้วยตวง
รากผักชีซอยละเอียด 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
กระเทียมซอยละเอียด 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
พริกไทยเม็ด 24 เม็ด
เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
น้ำ 3 ช้อนโต๊ะ


หัวกะทิ

1 3/4 ถ้วยตวง
มะพร้าวขูด 15 3/4 ถ้วยตวง


หางกะทิ

5 1/2 ถ้วยตวง
มะพร้าวที่เหลือจากหัวกะทิ
น้ำ 6 ถ้วยตวง


ส่วนผสมพริกแกง

พริกขี้หนูสีเขียว 20 เม็ด
พริกสดสีเขียว (พริกชี้ฟ้า) 7 เม็ด
กระเทียมซอย 2 3/4 ช้อนโต๊ะ (24 กลีบ)
หอมแดงซอย 2/34 ช้อนโต๊ะ (6 หัว)
ตะไคร้หั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ
ข่าหั่นละเอียด 1 3/4 ช้อนชา
กระชายปอกเปลือกหั่น 2 ช้อนโต๊ะ
ผิวมะกรูดหั่นละเอียด 2 ช้อนชา
ลูกผักชี 1 ช้อนโต๊ะ
ยี่หร่า 1/2 ช้อนชา
เกลือป่น 3/4 ช้อนโต๊ะ
กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ
พริกไทยเม็ด 30 เม็ด
รากผักชีซอยละเอียด 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
พริกเหลือง 2 เม็ด


ผัก

มะเขือเปราะ (ผ่า 8 ส่วน) 8 ลูก
(Ø 3 เซนติเมตร ต่อ 1 ลูก)
มะเขือพวง 1 ถ้วยตวง + 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
(117 ลูกขนาด Ø 1 เซนติเมตรต่อ 1 ลูก)
พริกชี้ฟ้าแดงหั่นเฉียง 1/3 ถ้วยตวง
(6 เม็ด 42 ชิ้น)
กระชายซอยเป็นเส้นยาวๆ 1 1/2 ถ้วยตวง
ใบมะกรูดฉีก (ใบอ่อน) 10 ใบ
โหระพาเด็ดเป็นใบๆ 1 1/2 ถ้วยตวง
น้ำตาลปี๊ป 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำพริกแกง

1.ลูกผักชีคั่วให้หอม ยี่หร่าคั่วให้หอม ป่นละเอียด แยกพักไว้

2. โขลกพริกไทยให้ละเอียดใส่รากผักชี ข่า ผิวมะกรูด ตะไคร้โขลกละเอียด ใส่พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกเหลือง เกลือป่น โขลกรวมกันให้ละเอียด ตามด้วยกระชาย หอม กระเทียม กะปิ โขลกรวมกันทั้งหมดจนละเอียด ใส่ลูกผักชี ยี่หร่าที่เตรียมไว้ผสมลงไปในน้ำพริกแกงทั้งหมดโขลกให้เข้ากัน


วิธีทำลูกชิ้นปลากราย

1.เนื้อปลากราย (ควรเป็นปลาที่สดเนื้อปลาสีชมพู ลูกชิ้นจึงจะเหนียว) ขูดเลือกก้างออกให้หมดแช่ในอ่างน้ำแข็งเพื่อให้สด

2.โขลกพริกไทย รากผักชี กระเทียมให้ละเอียด ผสมกับเนื้อปลานวดให้เข้ากัน

3.ละลายเกลือกับน้ำ ค่อยๆ นวดปลาในอ่างให้เหนียวผสมกับน้ำเกลือทีละน้อยจนหมดขณะที่นวดปลาให้เป็นเนื้อเดียวกัน
ต้องแช่ปลาในอ่างที่มีน้ำแข็งอยู่ด้วยอีกชั้นเพื่อทำให้ปลาสดและมีความเหนียวสลับกับ
การนวดปลาไปเรื่อยๆ จนกว่าเนื้อปลาจะเหนียว และสีของเนื้อปลาจะเป็นเงาใสแสดงว่าได้ที่แล้ว ใช้เวลาประมาณ 30 นาที

4.ใช้ ช้อนตักเนื้อปลาให้เป็นลูกกลมแบนแตะน้ำเปล่าเล็กน้อย เพื่อไม่ให้ติดมือ ต้มในน้ำเดือด (ถ้าต้องการให้เนื้อปลาเป็นสีขาว ควรใส่น้ำส้มสายชูลงไปเล็กน้อย) เมื่อลูกชิ้นปลายลอยขึ้นแสดงว่าสุกแล้ว ตักขึ้นใส่น้ำเย็น


วิธีทำแกงเขียวหวาน

1.คั้น มะพร้าวเป็น 2 ส่วน หัวกะทิและหางกะทิ หัวกะทิคั้นไม่ใส่น้ำ หางกะทิใช้มะพร้าวที่เหลือจากหัวกะทิ ใส่น้ำครั้งละ 2 ถ้วยตวง คั้นหางกะทิ 3 ครั้ง คั้นทีละน้อยเพื่อให้ได้หางกะทิที่มีนและเข้มข้น นำหัวกะทิไปเคี่ยวให้แตกมัน หางกะทิตั้งไฟให้เดือด เพื่อคงความสด และไม่เหม็นหืน ขณะที่รอเตรียมเครื่องปรุงอื่นอยู่ เพื่อพร้อมที่จะแกงได้ทันที

2.นำหัวกะทิที่เคี่ยวแตกมันแล้วใส่กะทะ ประมาณ 2 ทัพพี

3.นำ พริกแกงที่โขลกไว้มาผัดกับหัวกะทิที่เคี่ยวแตกมันแล้ว ใช้ไฟอ่อน ผัดจนหอมเติมหัวกะทิไปเรื่อยๆ จนหมดคนให้ทั่วอย่าให้ไหม้จนมันลอยขึ้นมา (หรือที่เรียกว่า แตกมัน) ใช้เวลาประมาณ 30 นาที

4. นำลูกชิ้นที่ต้มแล้วมาผัดกับน้ำพริกแกง ใส่กระชายซอยผัดให้ทั่ว

5. เทใส่ในหม้อหางกะทิที่เดือดแล้ว ตั้งให้เดือดอีกครั้ง

6. ใส่มะเขือพวง พอใกล้สุกจึงใส่มะเขือเปราะ ใบมะกรูด พริกชี้ฟ้า

7. ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊ป น้ำปลา ให้เดือดอีกครั้งปิดไฟ ใส่ใบโหระพา แล้วจึงยกลง


หมายเหตุ

มะเขือพวงจะสุกช้ากว่ามะเขือเปราะจึงต้องใส่มะเขือพวงก่อนมะเขือเปราะ
สรรพคุณทางยา

1. กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหารแก้โรคทางผิวหนัง น้ำมันกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด

2. กระชาย รสเผ็ดร้อน แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้บิดมีตัว ขับพยาธิตัวกลมและพยาธิเส้นด้ายในเด็กใช้แต่งกลิ่นสีรสอาหารที่มีคุณค่าทาง อาหารสูง ไม่มีพิษ

3. โหระพา ใบรสเผ็ดปร่าหอม แก้ท้องขึ้น อืดเฟ้อ แก้ลมวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร ขับลมในลำไส้ ขับเสมหะ

4. ใบและผิวมะกรูด รสปร่า กลิ่นหอมติดร้อน ใช้ปรุงอาหาร ช่วยดับกลิ่นคาว แก้โรคลักปิดลักเปิด ขับลมในลำไส้ ขับระดู แก้ลมจุกเสียด

5. หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด

6. ข่า รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด

7. ตะไคร้ทั้งต้น แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ

8. ยี่หร่า ใช้แต่งกลิ่นอาหารให้หอม ช่วยขับลม

9. พริกไทย รสเผ็ดร้อน ขับลม ขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร

10. รากและต้นผักชี ช่วยละลายเสมหะ แก้หัด ขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เจริญอาหาร

11. มะเขือพวง รสขมเฝื่อนเปรี้ยวเล็กน้อย แก้ไอ ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ

12. มะเขือเปราะ รสขมเล็กน้อย กระตุ้นการทำงานของกระเพาะลำไส้

13. มะพร้าวขูด รสมันหวาน บำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น ใช้รักษาโรคกระดูก

14. พริกชี้ฟ้า รสเผ็ด ช่วยเจริญอาหาร ขับลม



ประโยชน์ทางอาหาร

แกง เขียวหวานลูกชิ้นปลากราย เป็นแกงที่ได้รับการประยุกต์ต่อๆ กันมาเป็นอาหารที่มีรสชาติกลมกล่อมมันหวานเหมาะสำหรับคนธาตุดินรับประทานดี ยิ่งนัก
คุณค่าทางโภชนาการ

แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 4308 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย

- น้ำ 77.6 กรัม

- โปรตีน 200.9 กรัม

- ไขมัน 6.8 กรัม

- คาร์โบไฮเดรต 7.6 กรัม

- กาก 92.9 กรัม

- ใยอาหาร 2.9 กรัม

- แคลเซียม 1106.31 มิลลิกรัม

- ฟอสฟอรัส 2718.5 มิลลิกรัม

- เหล็ก 116.4 มิลลิกรัม

- เรตินอล 2.64 ไมโครกรัม

- เบต้าแคโรทีน 746 ไมโครกรัม

- วิตามินเอ 13,645.4 IU

- วิตามินบีหนึ่ง 166.34 กรัม

- วิตามินบีสอง 1.91 มิลลิกรัม

- ไนอาซิน 3.91 มิลลิกรัม

- วิตามินซี 8.16 มิลลิกรัม

ไม้มงคล

๒. ไม้ขนุน หมายถึง หนุนให้ดีขึ้นร่ำรวยขึ้น ทำอะไรจะมีผู้ให้การเกื้อหนุน

ข้อมูลทางวิชาการ
ไม้ต้น ขนาดใหญ่ สูง 15 - 30 เมตร ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล
นิเวศวิทยา
ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียเป็นพืชเศรษฐกิจเมืองร้อนที่ให้ผลมีขนาดใหญ่ที่สุดสามารถ บริโภคทั้งผลดิบและผลสุก นอกจากนี้ยังนำไปแปรรูปเป็นอาหารชนิดต่างๆ มีปลูกทั่วทุกภาคของประเทศไทย

ออกดอก
จะออกปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม และเมษายน - พฤษภาคมขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด ติดตา และทาบกิ่ง

ประโยชน์ ผลอ่อน ใช้ปรุงอาหาร ผลสุกเยื่อหุ้มเมล็ดมีรสหวาน เมล็ดปรุงอาหาร เนื้อไม้ ใช้ทำพื้นเรือนและสิ่งก่อสร้าง ครก สากกระเดื่อง หวี โทน รำมะนา ระนาด รากและแก่น ให้สีเหลือง ถึงเหลืองอมน้ำตาล ใช้ย้อมผ้าและแพรไหม รากนำมาปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้ไข้ ใบ เผาไฟกับซังข้าวโพดให้ดำเป็นถ่าน แล้วใส่รวมกับก้นกะลามะพร้าวขูด โรยรักษาบาดแผล


กระเจี๊ยบมอญ (Okra)
Abelmoschus esculentus ( L.) Moench
MALVACEAE


ชื่ออื่น กระเจี๊ยบ มะเขือควาย มะเขือมอญ
(กลาง) มะเขือพม่า มะเขือมื่น มะเขือมอญ
มะเขือละโว้ (เหนือ)


ลักษณะทั่วไป
ไม้ล้มลุกสูง 1-2 เมตร ลำต้นและใบมีขนหยาบลำต้นมีสีเขียว
กลม เส้นผ่าศูนย์กล่างเฉลี่ย 1-3 เซนติเมตร ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปมือ เป็นแฉก
ลึกกว้าง 7 - 26 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร ดอก ออกตามซอกใบ กลีบ
ดอกสีเหลือง โคนกลีบด้านในสีม่วงแดง ก้านชู อับเติดกันเป็นหลอด เป็นพืช
ผสมตัวเอง มีทั้งเกษรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ผล เป็นผล
แคปซูล มีรูปร่างเรียวยาวเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม ผลตั้งชูขึ้นมีสีเขียวอ่อน หรือ
เขียวแก่ ขึ้นอยู่กับพันธุ์ เมล็ด สีดำ จำนวน 200 เมล็ด หนักประมาณ 10 กรัม->>


ประโยชน์ และความสำคัญทางอาหาร

ผลอ่อน ลวกนึ่งหรือเผาไฟ รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือนำผลอ่อนมาแกงส้ม
เครื่องปรุง น้ำพริกแกงส้มมีดังนี้ พริก เกลือ ตะไคร้ ขมิ้น กระเทียม หอม กะปิ
โขลกเครื่องปรุงน้ำพริกให้เข้ากัน ผัดน้ำพริกกับน้ำมันและเนื้อปลาให้สุกและหอม
ตักเอาปลาออก และเติมน้ำทิ้งไว้จนกระทั่งเดือด ใส่กระเจี๊ยบมอญจนกระทั่งสุก
เติมน้ำมะหนาวให้ออกเปรี้ยว ใส่ปลา คนสักครู่ ปรุงรสตามใจชอบ

ผัดกะเพรา

สูตรอาหารไทย : ผัดกะเพราไก่

[ FRIED CHICKEN WITH BASIL LEAVES ]

เครื่องปรุง + ส่วนผสม

ผัดกะเพราไก่+ไข่ดาว

* เนื้อไก่ 450 กรัม (หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ พอดีำคำ)

* กระเทียม 5 กลีบ (สับให้ละเอียด)

* หัวหอมใหญ่ 1/2 ถ้วยตวง (หั่นเป็นชิ้นบางๆ)

* น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ

* ซิอิ๊วดำ 2 ช้อนชา

* น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ

* ใบกะเพรา 1 ถ้วยตวง

* พริก 7 เม็ด (ทุบพอแหลกและสับหยาบๆ)

* พริกไทยป่น

หมายเหตุ : สามารถใส่ผักอื่นๆลงไปผัดร่วมด้วยเช่น แครอท, ถั่วฝัก, ข้าวโพดอ่อน เป็นต้น

ใบกะเพรา
ผัดกะเพราไก่+ไข่ดาว

วิธีทำทีละขั้นตอน

1. ตั้งน้ำมันในกระทะจนร้อน จากนั้นใส่กระเทียมและผัด 5-10 วินาที ใส่หอมใหญ่ และผัดต่อไปอีกสักพักจนกลิ่นเริ่มหอม ใส่เนื้อไก่ลงต่อและผัดจนเนื้อไก่สุกทั่ว

2. ใส่พริกและซิอิ๊วดำลงไปในกระทะ ผัดต่อไปอีก 15-20 วินาที

3. ปรุงรสด้วยน้ำปลา และใส่ใบกะเพราลงไปในกระทะ ปิดไฟจากนั้นผัดให้กะเพราผสมกับเนื้อไก่่่จนทั่ว ตักใส่จาน ก่อนเสิรฟโรยหน้าด้วยพริกไทย เสิรฟพร้อมข้าวสวยร้อนๆ ในบางครั้งไข่เจียวหรือไข่ดาวมักจะเสิรฟร่วมด้วย